ภูมิทัศน์


                 จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ 7,298,981 ไร่ ร้อยละ 77 ของพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร มีพื้นที่นาในปีพ.ศ. 2540 ทั้งหมด 1,249,215 ไร่ พื้นที่นาส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเมือง อำเภอพาน อำเภอเชียงของ และอำเภอเทิง จังหวัดนี้จัดอยู่ในเทือกเขาสูงในตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และภูเขาสลับซับซ้อนอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ทอดยาวในแนวเหนือใต้ มีที่ราบสูงเป็นหย่อมๆ พื้นที่ที่เป็นที่ราบระหว่างหุบเขา และที่ราบลุ่มน้ำ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 350-400 เมตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เหมาะสำหรับปลูกข้าวมาก-ปานกลาง

       1.สภาพภูมิประเทศของจังหวัดเชียงราย

                 1.1 ข้อมูลทั่วไป      
                จังหวัดเชียงรายตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศไทยระหว่างเส้นรุ้งที่ 19 ° 15-20 ° 28 เหนือ เส้นแวงที่ 99 ° 16-100° 31 ตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 7,298,981 ไร่ ประมาณ 11,678 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 11.6 ของภาคเหนือตอนบน มีระยะห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 829 กิโลเมตร

อาณาเขต  
ทิศเหนือ                ติดต่อกับประเทศพม่า และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้                    ติดต่อกับจังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยา
ทิศตะวันออก          ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันตก            ติดต่อกับจังหวัดเชียงใหม่ และประเทศพม่า

                      1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
          สภาพภูมิประเทศจังหวัดเชียงรายจัดอยู่ในประเภทเทือกเขาสูงในตอนเหนือ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและภูเขา มีภูเขาสูงสลับซับซ้อนอยู่ทางด้านตะวันออกและตะวันตกทอดยาวในแนวเหนือ-ใต้ มีที่ราบสูงเป็นหย่อมๆ ในเขตอำเภอแม่สรวย อำเภอเวียงป่าเป้า และอำเภอเชียงของ บริเวณเทือกเขาจะมีความสูงประมาณ 1,500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ส่วนที่ราบจะเป็นที่ราบระหว่างหุบเขาและที่ราบลุ่มน้ำ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 350-600 เมตร ที่ราบลุ่มน้ำสายสำคัญๆได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำกก ลุ่มน้ำอิง ลุ่มน้ำลาว และลุ่มน้ำแม่คำ-แม่จัน-แม่สาย บริเวณที่ราบที่มีระดับต่ำสุดคือ ที่ราบลุ่มแม่น้าอิง ทางตอนใต้ของอำเภอเชียงของ เฉลี่ยระดับความสูงในพื้นที่ราบประมาณ 394 เมตรจากระดับน้ำทะเล


                       1.3 แผนที่จังหวัด


                   
          2. สภาพภูมิอากาศและฝนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
                     2.1 สภาพภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
                    จังหวัดเชียงรายมีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน ได้รับอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่หอบเอาความหนาวเย็นจากไซบีเรียพัดผ่านประเทศจีนเข้าสู่ภาคเหนือของไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่หอบเอาความชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย จึงทำให้อากาศหนาวเย็นมากในช่วงเดือนมกราคม และฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคม เนื่องจากมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ จึงทำให้อุณหภูมิและฤดูแตกต่างกันมาก โดยมีฤดูต่างๆ แบ่งตามเวลาดังนี้
ฤดูร้อน     เริ่มจากกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิประมาณ 40  องศาเซลเซียส
ฤดูฝน    เริ่มจากกลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส 
ฤดูหนาว  เริ่มจากกลางเดือนตุลาคม-กลางเดือนกุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 8 องศาเซลเซียส                 
                           2.1.1 อุณหภูมิ
                           2.1.2 ความชื้นสัมพัทธ์
                           2.1.3 ค่าศักย์การคายระเหยน้ำ
                           2.1.4 ช่วงแสง
                  2.2 สภาพน้ำฝนในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

           3.สภาพดินในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
                    3.1 สภาพดินโดยทั่วไป
                 3.2 แผนที่กลุ่มชุดดิน   ดินของจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยหน่วยแผนที่ดินดินที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว 24 หน่วยแผนที่ดิน
                    3.3 ลักษณะและสมบัติของดินที่สำคัญต่อการเกษตร   
                    3.4 การจำแนกความเหมาะสมและข้อจำกัดของดินสำหรับการปลูกพืช
                    3.5 ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินและแนวทางการแก้ไข
                    3.6 ภาพ Profile ดินแต่ละชุด
                    3.7 แผนที่แสดงศักยภาพในการให้ผลผลิต

            4. แหล่งน้ำและระบบชลประทานในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
                    4.1 สภาพแหล่งน้ำโดยทั่วไป
           แหล่งน้ำธรรมชาติ จังหวัดเชียงรายมีหนองน้ำตามธรรมชาติไม่น้อยกว่า 280 แห่ง คิดเป็นพื้นที่รวม 205 ตารางกิโลมตร หนองน้ำใหญ่ที่สุดคือ หนองหลวง อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเวียงชัย และอำเภอเมือง มีพื้นที่รวมประมาณ 16,00 ไร่ รองลงมาได้แก่ หนองบงคาย อยู่ในเขตอำเภอเชียงแสน และอำเภอหนองแรด มีพื้นที่ 1,725 ไร่ อยู่ในเขต อำเภอเทิง มีพื้นที่ 1,354 ไร่ จังหวัดเชียงรายมีแม่น้ำไหลผ่าน 7 สาย ทำให้มีที่ราบลุ่มเกือบครี่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด มีลุ่มน้ำที่สำคัญได้แก่ ลุ่มน้ำกก ลุ่มน้ำอิง และลุ่มน้ำโขง เป็นที่ราบที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมที่จะทำการเกษตร แม่น้ำที่สำคัญทั้ง 7 สายได้แก่

            1.  แม่น้ำกก มีต้นกำเนิดจากประเทศพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่แล้วไหลผ่านจังหวัดเชียงรายที่อำเภอเมือง อำเภอแม่จัน และอำเภอเวียงชัยแล้วไหลลงแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงแสน รวมความยาวประมาณ 114.5 กิโลเมตร
            2.  แม่น้ำโขง ไหลผ่านอำเภอเชียงแสน ที่บ้านสบรวก(บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ) อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ และอำเภอเวียงแก่นแล้วไหลเข้าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดเชียงราย 94 กิโลเมตร
               3.  แม่น้ำอิง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ไหลลงสู่หนองเล็งทรายกว๊านพะเยา อำเภอเมือง อำเภอดอกคำใต้ และอำเภอจุน จังหวัดพะเยาแล้วไหลเข้าอำเภอเทิง อำเภอพญาเม็งราย และลงสู่แม่น้ำโขงที่บ้านสบอิง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย รวมความยาวที่ไหลผ่านจังหวัดเชียงราย 136 กิโลเมตร
             4.  แม่น้ำคำ มีต้นกำเนิดจากภูเขาในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง ไหลผ่านอำเภอแม่จัน อำเภอแม่สาย และไหลลงแม่น้ำโขง ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย รวมความยาวประมาณ 85 กิโลเมตร
                5.แม่น้ำลาวมีต้นกำเนิดจากภูเขาในท้องที่อำเภอเวียงป่าเป้าไหลผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอพาน อำเภอแม่ลาวอำเภอเมือง และอำเภอเวียงชัย แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำกก ที่อำเภอเวียงชัย
                6.แม่น้ำสายเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านประเทศไทยในเขตอำเภอแม่สาย และเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศพม่า
                   7.  แม่น้ำรวก มีต้นกำเนิดจากประเทศพม่า ไหลผ่านอำเภอแม่สาย และอำเภอเชียงแสน โดยกั้นอาณาเขตระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า แล้วไหลไปบรรจบกับแม่น้ำโขงที่บ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน(บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ)

                    4.2 ระบบชลประทานและพื้นที่รับน้ำชลประทาน
               จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่นาอยู่ในเขตชลประทานร้อยละ 24 ในอำเภอพาน อำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน อำเภอเวียงชัย อำเภอแม่ลาว อำเภอเมือง อำเภอพญาเม็งราย และอำเภอขุนตาล รวมพื้นที่ 301,712 ไร่ มีโครงการชลประทานส่งน้ำรวมทั้งสิ้น 208 โครงการ แยกเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ 1 โครงการ ขนาดกลาง 3 โครงการ ขนาดเล็ก 70 โครงการ โครงการชลประทานตามพระราชดำริ 39 โครงการ โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง 35 โครงการ และงานศูนย์บริการเคลื่อนที่ 60 โครงการ ซึ่งมีโครงการและพื้นที่รับน้ำดังนี้
            1.  โครงการชลประทานขนาดใหญ่ได้แก่ โครงการส่วฃงน้ำและบำรุงรักษาแม่ลาว มีพื้นที่ชลประทาน 166,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา
                    2.  โครงการชลประทานขนาดกลาง มีพื้นที่ชลประทาน 103,700 ไร่
                    3.  โครงการชลประทานขนาดเล็ก มีพื้นที่ชลประทาน 160,030 ไร่
                    4.  โครงการชลประทานตามพระราชดำริ มีพื้นที่ชลประทาน 99,980 ไร่
                    5. โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง มีพื้นที่ชลประทาน 31,900 ไร่
                    6.  งานศูนย์บริการเคลื่อนที่ มีพื้นที่ชลประทาน 121,910 ไร่
นอกจากนี้ยังมีอ่างเก็บน้ำ 171 แห่งคิดเป็นพื้นที่ 12,558 ไร่ มีฝ่ายน้ำล้น 67 แห่ง พื้นที่ 629 ไร่

            5. ระบบการผลิตและพืชเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงราย
                    5.1 การผลิตด้านการเกษตรในจังหวัดเชียงราย
                    5.2 พืชเศรษฐกิจ

             6. การผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
                    6.1 พันธุ์ข้าว
                    6.2 เหตุผลในการใช้พันธุ์ข้าว
                    6.3 การเตรียมดินและวิธีการปลูก
                    6.4 การใส่ปุ๋ย
                    6.5 การกำจัดวัชพืช
                    6.6 การเก็บเกี่ยวและการนวด
                    6.7 ผลผลิต
                        6.7.1 พื้นที่ปลูกและผลผลิต
               การปลูกข้าวฤดูนาปี ในจังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ปลูกข้าวเจ้ามากที่สุดในปี 2537/2538 พื้นที่ 280,103 ไร่ รองลงมาคือปี 2536/2537 และปี 2540/2541 พื้นที่ 275,086 และ 264,696 ไร่ตามลำดับ แต่ในปี 2537/2538 มีพื้นที่เสียหายมากถึง 171,764 ไร่ ทำให้ผลผลิตรวมน้อยที่สุด 93,379 ตัน ขณะที่ปี 2536/2537 ให้ผลผลิตรวมมากที่สุด 155,404 ตัน รองลงมาคือปี 2541/2542 ได้ผลผลิตรวม 155,074 ตัน ผลผลิตข้าวเจ้าเฉลี่ยต่อพื้นที่เก็บเกี่ยว 6 ปี 584 กิโลกรัมต่อไร่ โดยปี 2540/2541 ได้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 611 กิโลกรัมต่อไร่ และปี 2537/2538 ได้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำสุด 543 กิโลกรัมต่อไร่
                  พื้นที่ปลูกข้าวเหนียวปี 2540/2541 มีมากที่สุด 1,026,331 ไร่ รองลงมาคือปี 2537/2538 และปี 2541/2542 มีพื้นที่ 982,471 และ 979,588 ไร่ตามลำดับ แต่ปี 2537/2538 มีพื้นที่เสียหายมากถึง 313,426 ไร่คิดเป็นร้อยละ 32 รองลงมาคือปี 2538/2539 และปี 2540/2541 มีพื้นที่เสียหาย 237,412 และ 144,310 ไร่คิดเป็นร้อยละ 24 และ 14 ตามลำดับ ปี 2541/2542 ได้ผลผลอตรวมมากที่สุด 602,834 ตัน รองลงมาคือปี 2539/2540 และปี 2540/2541 ได้ผลผลิตรวม 564,540 และ 548,523 ตันตามลำดับ ผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่เก็บเกี่ยวของข้าวเหนียวเฉลี่ย 6 ปี 608 กิโลกรัมต่อไร่ ปี 2536/2537 ได้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 635 กิโลกรัมต่อไร่ และปี 2537/2538 ได้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำสุด 566 กิโลกรัมต่อไร่6.7.2 ความเหมาะสมของพื้นที่ปลูกข้าวในการให้ผลผลิตของข้าวที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

               7. ผลกระทบต่อการผลิตการผลิตข้าวในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
                       7.1 ผลกระทบจากสภาพแวดล้อม
                            7.1.1 ผลกระทบจากสภาพแล้ง
                            7.1.2 ผลกระทบจากสภาพน้ำท่วม
                       7.2 ผลกระทบจากโรคและแมลง
                            7.2.1 ปัญหาจากโรคไหม้
                            7.2.2 ปัญหาจากเพลี้ยกระโดดหลังขาว 

                8. รายได้และรายจ่ายในการทำนา
                       8.1 รายได้จากการขายข้าว
                       8.2 รายจ่ายในการทำนา


 ที่มา :  สถาบันวิจัยข้าว, กองปฐพีวิทยา, สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 และสำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6.  (ม.ป.ป.).  เอกสารวิชาการ  การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดเชียงราย. ม.ป.ท.   http://cri.brrd.in.th     วันที่ 8 มกราคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น