ประวัติความเป็นมา
แม่น้ำสายเดิมชื่อแม่น้ำใสและเมืองแม่สายเดิมคือ เวียงสี่ตวงขึ้นกับแคว้นโยนกนครปรากฏหลักฐานตามประวัติศาสตร์ตำนานสิงหนวัต)เมื่อปีพ.ศ.1462 พระเจ้ามังคราช
เจ้าผู้ครองแคว้นโยนกถูกขอมดำรุกราน จึงอพยพ ราษฎรมาอยู่ริมแม่น้ำสาย
ต้องส่งส่วยให้ขอมดำเป็นทองคำปีละ 4 ตวง หมากพินลูกเล็ก
(มะตูม) จึงได้ชื่อ "เวียงสี่ตวง" ต่อมาพระเจ้าพรหมมหาราช
พระราชโอรสของพระเจ้าพังคราช ได้เปลี่ยนชื่อเมือง "เวียงสี่ตวง" เป็น
"เวียงพางคำ" อันหมายถึง
พานคำที่ใช้ตีเชิญช้างคู่บารมีของพระองค์ขึ้นจากน้ำของ(แม่น้ำโขง)
จนสามารถกอบกู้แคว้นโยนกนครจากขอมดำได้สำเร็จ ต่อมาเวียงพานคำ
ได้เพี้ยนเป็นเวียงพางคำ คือ พื้นที่ตำบลเวียงพางคำในปัจจุบันนี้
อำเภอแม่สาย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 61 กิโลเมตร
ตามทางหลวงหมายเลข 110 เป็นอำเภอเหนือสุดของประเทศไทย
ติดกับจังหวัดท่าขี้เหล็กของพม่า โดยมีแม่น้ำแม่สายเป็นพรมแดน
มีสะพานเชื่อมเมืองทั้งสองเข้าด้วยกัน
ทั้งชาวไทยและชาวพม่าเดินทางไปมาหาสู่ค้าขายกันได้โดยเสรี สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมเดินทางไปยังท่าขี้เหล็กของพม่า
เพื่อซื้อสินค้าพื้นเมืองและสินค้าราคาถูกอื่นๆ เช่น ตะกร้า เครื่องทองเหลือง
สบู่พม่า สมุนไพร การข้ามไปท่าขี้เหล็ก นักท่องเที่ยวชาวไทย เดินทางเข้าเขตประเทศพม่าได้ ทุกวัน
ระหว่างเวลา 06.30-18.30 น. โดยใช้บัตรประชาชน หรือบัตรอื่น
ๆ ที่ทางราชการออกให้ ค่าบริการคนละ 40 บาท
สินค้าที่ไม่อนุญาตให้ซื้อเข้ามาได้แก่ สินค้าจากซากสัตว์ป่า บุหรี่
และสุราต่างประเทศ
พระธาตุดอยเวา ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สาย
ก่อนถึงชายแดนแม่สายประมาณ 100 เมตร
บนดอยริมฝั่งแม่น้ำแม่สาย ตามประวัติกล่าวว่า
พระองค์เวาหรือเว้าผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์
เป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุองค์หนึ่งเมื่อ พ.ศ. 364 นับเป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่องค์หนึ่งรองมาจากพระบรมธาตุดอยตุง
นอกจากนี้บนดอยเวายังเป็นจุดที่สามารถชมทิวทัศน์ของอำเภอแม่สาย
และท่าขึ้เหล็กทางฝั่งพม่าได้อย่างชัดเจน สามารถนำรถขึ้นไปจนถึงพระธาตุได้
ถ้ำผาจม ตั้งอยู่หมู่1 ตำบลแม่สาย
อยู่ห่างจากตำบลแม่สาย ไปทางทิศเหนือประมาณ 1.5 กิโลเมตร
ถ้ำผาจมตั้งอยู่บนดอย อีกลูกหนึ่งทางทิศตะวันตกของดอยเวา ติดกับแม่น้ำสาย
เคยเป็นสถานที่ซึ่ง พระภิกษุสงฆ์นั่งบำเพ็ญเพียรภาวนา เช่น พระอาจารย์มั่น
ภูริทัตโต ปัจจุบันมีรูปปั้นพระอาจารย์มั่น ภูริตโต ประดิษฐานไว้บนดอยด้วย
ภายในถ้ำผาจมมี หินงอกย้อยอยู่ตามผนังและเพดานถ้ำ สวยงามวิจิตรตระการตา
เป็นถ้ำหนึ่งที่มีน้ำไหลภายในถ้ำ เคยมีปลาชนิดต่างๆ
ทั้งใหญ่น้อยว่ายออกมาให้เห็นเป็นประจำ ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปศิลปะพม่าสร้างขึ้นโดยพระภิกษุชาวพม่าประชาชนทั่วไปเรียกว่าพระทรงเครื่องเป็นที่เลื่อมใสขอประชาชนในแถบนี้
เป็นถ้ำที่อยู่ปลายสุดของแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของ
หมู่ที่ 3 บ้านถ้ำปลา การเดินทางไปถ้ำนี้สามารถไปได้
ทั้งทางน้ำและทางบก โดยการเดินลัดเลาะตามขอบอ่างเก็บน้ำทางทิศใต้ปากถ้ำวัดความกว้างได้
ประมาณ 4.70 เมตรสูงประมาณ 2.40 เมตรลักษณะของถ้ำเป็นโพรงสูงขึ้นในแนวดิ่งหินงอกมีลักษณะเป็นแท่ง
ๆ ซ้อนกันคล้ายเสาบ้านชาวบ้านจึงเรียกถ้ำนี้ว่า ถ้ำเสาหิน ซึ่งมีลักษณะเป็น 3
ชั้น
ที่มา : http://www.tourismchiangrai.com
วันที่ 10 มกราคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น