ประวัติความเป็นมา
กระทรวงมหาดไทยประกาศแบ่งท้องที่การปกครอง
อ.เทิง รวม 3 ตำบลตั้งเป็นกิ่ง อ.ขุนตาล เมื่อวันที่ 1 เม.ย.2535
โดยตั้งที่ว่าการอำเภอ ณ ม.14 ต.ป่าตาล และยกฐานะเป็น อ.ขุนตาล เมื่อวันที่ 5
ธันวาคม 2539 ชื่อ "ขุนตาล" ที่นำมาตั้งเป็นชื่อของอำเภอ
จากหลักฐานคำบอกเล่าสืบต่อกันมาเป็นชื่อ "ลำห้วยขุนตาล" ซึ่งไหลผ่านเขต
ตำบลป่าตาล เปรียบเสมือนสายโลหิตที่หล่อเลี้ยงพื้นที่บริเวณนี้
อีกประเด็นหนึ่งคือคำว่า "ขุนตาล" น่าจะมาจาก ชื่อ"พระธาตุขุนตาล"
ซึ่งเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวอำเภอขุนตาลเคารพ
ภูหลงถัง-วนอุทยานพญาพิภักดิ์
ที่มา : http://www.tourismchiangrai.com , http://www.chiangraifocus.com วันที่ 8 มกราคม 2556
ภูหลงถัง-วนอุทยานพญาพิภักดิ์
ดอยพญาพิภักดิ์ หรือ ภูหลงถัง
"ดินแดนสระน้ำมังกร" หรือ ดอยพญาพิภักดิ์
สระน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 1200 เมตร
ชนเผ่าม้งในแถบนี้เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของมังกร ภูหลงถังตั้งอยู่ห่างจากถนนเทิง-ขุนตาล-เชียงของ
เพียง 6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาที ภูหลงถัง
เป็นยอดเนินที่สูงสามารถชมทิวทัศน์ได้ถึง 4 อำเภอ คือ อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล
อำเภอเวียงแก่น และอำเภอเทิง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถมองเห็นยอดภูชี้ฟ้าได้อย่างชัดเจน เนื่องจากอยู่ห่างจากภูชี้ฟ้าประมาณ
18 กิโลเมตร โดยภูหลงถังเป็นจุดเริ่มต้นในการท่องเที่ยว 3 ภู ใน 1 วัน
สถานที่แห่งนี้เป็นดินแดนประวัติศาสตร์
อดีตเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการสู้รบระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยวันเสียงปืนแตกนัดแรกของจังหวัดเชียงรายเกิดขึ้น
ณ ที่แห่งนี้ และเป็นเขตปฏิบัติการของกองพลที่ 24 และเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์
2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมา ณ ภูแห่งนี้
หลังจากนั้นเหตุการณ์สู้รบก็ยุติลง ภูหลงถังมีความงดงามทางด้านภูมิทัศน์ วัฒนธรรม
และไม้เมืองหนาว ในช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน ของทุกปี ส่วนที่มาของชื่อ
"ภูหลงถัง" มาจากคำว่าภูหลงถัง เป็นภาษาจีนกลางที่ทหารจีนคณะชาติ (กองพล
93) ที่มาร่วมรบ ณ สมรภูมิแห่งนี้ใช้เรียกขาน แปลว่า "สระน้ำมังกร"
เป็นยอดเนินที่สูงสามารถชมทิวทัศน์ได้ถึง 4
อำเภอ คือ อำเภอพญาเม็งราย อำเภอขุนตาล อำเภอเวียงแก่น และอำเภอเทิง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถมองเห็นยอดภูชี้ฟ้าได้อย่างชัดเจน
เนื่องจากอยู่ห่างจากภูชี้ฟ้าประมาณ 18 กิโลเมตร โดยภูหลงถังเป็นจุดเริ่มต้นในการท่องเที่ยว
3 ภู ใน 1 วัน สถานที่แห่งนี้เป็นดินแดนประวัติศาสตร์
อดีตเป็นจุดยุทธศาสตร์ในการสู้รบระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
วันเสียงปืนแตกนัดแรกของจังหวัดเชียงรายเกิดขึ้น
ณ ที่แห่งนี้ และเป็นเขตปฏิบัติการของกองพลที่ 24 และเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์
2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมา ณ ภูแห่งนี้
หลังจากนั้นเหตุการณ์สู้รบก็ยุติลง ภูหลงถังมีความงดงามทางด้านภูมิทัศน์ วัฒนธรรม
และไม้เมืองหนาว ในช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน ของทุกปี
ที่มา : http://www.tourismchiangrai.com , http://www.chiangraifocus.com วันที่ 8 มกราคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น