ประวัติความเป็นมา
อ.เทิง มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน
เริ่มมีการกล่าวถึง ตั้งแต่สมัยขุนเจื๋องราชโอรสขุนจอมธรรม
ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว(จังหวัดพะเยาในปัจจุบัน) ประมาณจุลศักราช 482(พ.ศ.1163) เป็นหัวเมืองที่สำคัญของเมืองภูกามยาวนคร
ต่อมาการปกครองได้แตกสาขาแยกเมืองออกมาปกครองมากขึ้นเมืองเทิงจัดอยู่ในเขตปกครองของบริเวณนครน่าน
ตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ร.ศ.(พ.ศ.2438) เรียกว่า
"กิ่งแขวงเมืองเทิง" จัดแบ่งหมู่บ้านต่างๆเป็น 14 แคว้น
พ.ศ.2447 กิ่งแขวงเมืองเทิง ได้โอนจากบริเวณน่านเหนือ
มาขึ้นกับเมืองเชียงราย โดยมีพระยาพิศาลคีรีเมฆ เป็นผู้ปกครองกิ่งแขวงเมืองเทิง
พ.ศ. 2457 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอเทิง ขึ้นต่อจังหวัดเชียงราย
มีนายอำเภอคนแรก ชื่อ"ขุนวัฒนานุการ (รองอำมาตย์โทโป๊ะ วัฒนะสมบัติ) นับแต่
พ.ศ. 2457 เรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2548 อำเภอเทิงมีนายอำเภอทั้งหมด
34 คน โดยนายนิมิต วันไชยธนวงศ์ เป็นนายอำเภอตั้งแต่ ต.ค.2546จนถึง ปัจจุบัน
เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นสลายหมอกอีกแห่งหนึ่ง
ช่วงที่สวยงามมากคือเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เวลา 06.30 -07.30 น. อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กม.
มีลักษณะเป็นยอดเขาที่มีส่วนแหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง
ประมาณ 1,628 เมตร โดยมีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว
บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง แซมด้วยทุ่งโคลงเคลง ที่มีดอกสีชมพูอมม่วง
ซึ่งจะบานระหว่างเดือนกรกฎาคม-มกราคม จากเชียงรายใช้เส้นทาง 1020 เชียงราย-เทิง-เชียงคำ แล้วเลี้ยวซ้ายข้าง โรงเรียนภูซางฯ ทางหลวง 1093 ผ่านน้ำตกภูซาง-บ้านฮวก รวมระยะทาง 145 กม.
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2.5 ซม.
หากผ่านเลยไปถึงตัวอำเภอเชียงคำอีก 5 กม.
มีสถานที่น่าสนใจแวะเยี่ยมชม ได้แก่
ศูนย์ผ้าทอไทลื้อและต้นจามจุรีทรงพุ่มงามที่วัดพระธาตุสบแวน วัดพระเจ้านั่งดิน
วัดแสนเมืองมา และวัดนันตาราม
วัดพระธาตุจอมจ้อ ตำบลเวียง อำเภอเทิง
จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๖๖- ๖๔๔๙
มีพระมหาชูศักดิ์เป็นเจ้าอาวาสประวัติพระธาตุ
พระธาตุจอมจ้อเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิที่อยู่คู่เมืองเทิงมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล
ประวัติพระธาตุจอมจ้อจากคัมภีร์เก่าแก่ที่ตั้งโดยนักปราชญ์ผู้ชำนาญในด้านภาษาบาลีของอำเภอเมืองเทิง
(เมืองเถิง) ในสมัยนั้นได้กล่าวว่า ในกาลสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาสุวรรณภูมิ
พระองค์ได้พักอยู่ใต้ต้นอโศกบนดอยใกล้แม่น้ำอิง มีพญานาคตนหนึ่ง
รู้ว่าพระพุทธองค์เสด็จมาจึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามความต่างๆแล้วจึงนำจ้อคำ
๓ ผืนแล้วจ้อแก้วอีก ๓ ผืน มาถวายพระพุทธองค์
พระอานนท์จึงขอทูลพระธาตุให้พระยานาคตนนั้น
พระพุทธองค์จึงนำพระหัตถ์ลูบพระเศียรได้พระเกศาธาตุเส้นหนึ่ง
จึงโปรดให้พญานาคไว้พญานาคจึงนำความแจ้งให้เจ้าเมืองสร้างพระธาตุไว้ที่กลางดอยเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุ
ต่อมาจึงมีการขนานนามพระธาตุนั้นว่า พระธาตุจอมจ้อ
ทุกปีจะมีพิธีสรงน้ำพระธาตุจอมจ้อ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ
ที่มา : http://www.tourismchiangrai.com วันที่ 8 มกราคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น