อำเภอเมืองเชียงราย


เมืองพญามังราย สายใยน้ำกก พระหยกล้ำค่า ไร่แม่ฟ้าหลวงรวมใจ น้ำตกใสขุนกรณ์ 

ประวัติความเป็นมา
                 ประวัติความเป็นมา กษัตริย์ในราชวงศ์ละวะจักรราช (บางตำนานเรียกลาวจักรราช) ได้สืบสันติวงศ์ต่อจากปฐมกษัตริย์ผู้สร้างเมืองหิรัญนครยาง จนถึงเชื้อพระวงศ์พระนามว่า ลาวเมง หรือลาวเมือง ซึ่งต่อมาได้อภิเษกสมรสกับนางอั้งมิ่ง หรือนางเมพคำยาย(หรือนางเทพคำข่าย) และมีพระโอรสประสูติในปี พ.ศ.1781 พระนามว่า เจ้าเม็งราย (หรือเจ้ามังราย) ซึ่งได้ครองราชย์ต่อจากพระบิดาเมื่อปี พ.ศ.1804 และได้มีดำริที่จะรวมเมืองน้อยใหญ่ในแคว้นล้านนา (ภาคเหนือตอนบน)ให้เป็นหนึ่งเดียว จึงได้ยกทัพไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีและปราบปรามหัวเมืองต่างๆ และในช่วงที่ไปหัวเมืองฝ่ายใต้ เมื่อไปถึงดอยจอมทอง ริมน้ำกก เห็นเป็นชัยภูมิดี เหมาะแก่การป้องกันการรุกรานของทัพเม็งโกลที่กำลังแผ่อำนาจเข้าครองยูนนาน พม่า และตังเกี๋ย จึงทรงสร้างเมืองใหม่เป็นศูนย์กลางของแคว้นหิรัญนครเงินยางแทนเมืองยาง และตั้งชื่อเมืองใหม่ว่า "เมืองเชียงราย" ในพ.ศ.2385 เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ได้ขอพระราชทานตั้งเมืองใหม่ต่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเมืองเชียงรายซึ่งถูกทิ้งร้างไปเมื่อครั้งพระยากาวิละทำสงครามกับพม่ ก็ได้รับการฟื้นฟู อีกครั้งหนึ่ง แต่เป็นเมืองบริวารของเชียงใหม่ ต่อมาได้มีประกาศเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ให้รวมเมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน เมืองฝาง เมืองพะเยา เวียงป่าเป้า แม่ใจ ดอกคำใต้ แม่สรวย เชียงคำ เชียงของ ตั้งเป็นหัวเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองเชียงราย" อยู่ในมณฑลพายัพ จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ก็ได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑล เทศาภิบาล และมีประกาศตั้งเมืองเชียงราย เป็นจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่นั้นมา



อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช

               อยู่ที่ห้าแยกพ่อขุ่น พ่อขุ่นเม็งรายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงค์ลัวะจังคราช เป็นโอรสของพญาลาวเม็ง และพระนางเทพคำขยาย หรือพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน พุทธศักราช 1782 เสด็จสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.1854 พ่อขุนเม็งรายได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นบนดอยทอง จากรากฐานเดิมที่เคยเป็นเมืองมาก่อน เมื่อ พ.ศ.1805ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงค์เม็งราย และรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทยจนเจริญรุ่งเรืองถึงปัจจุบัน



กู่พระเจ้าเม็งราย

                    ตั้งอยู่หน้าวัดงำเมือง บนดอยงำเมือง กู่นี้เป็นอนุสาวรีย์สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิของพ่อ
ขุนเม็งรายมหาราชตามประวัติกล่าวว่าพระเจ้าไชยสงครามราชโอรสพระเจ้าเม็งรายเมื่อได้มอบราชสมบัติให้พระ
เจ้าแสนภูราชโอรสขึ้นครองนครเชียงใหม่แล้วพระองค์ได้นำอัฐิพระราชบิดามาประทับอยู่ที่เมืองเชียงรายและ
ได้โปรดเกล้าฯ สร้างกู่บรรจุอัฐิของพระราชบิดาไว้ ณ ดอยงำเมืองแห่งนี้



วัดพระแก้ว 


          วัดพระแก้วเดิมเป็นวัดโบราณมีชื่อเรียกมาแต่เดิมว่า รุกขวนาราม แปลว่า วัดป่าไม้เยียะ หรือ ไม้ญะ หมายถึงป่าไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง ที่ด้านหลังพระอุโบสถมีพระเจดีย์เก่าองค์หนึ่ง ราวพุทธศักราช 1977 เกิดอสนีบาตตกลงมาที่พระเจดีย์พังทลายลง ได้พบพระพุทธรูปปูนปั้นอยู่ภายในจึงนำไปไว้หน้าพระประธานในพระวิหารอยู่มาวันหนึ่งโยมวัดเข้าไปทำความสะอาด ผิวปูนกะเทาะออกเห็นเนื้อแก้วสีเขียวอยู่ภายในจึงนำความแจ้งแก่พระสงฆ



วัดพระธาตุดอยทอง

             ตั้งอยู่ถนนอาจอำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก ในปี พ.ศ.1805 พญาเม็งรายได้ทรงสร้างเมืองเชียงราย โดยก่อปราการโอบดอย ตามตำนานเล่าว่าเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่มีก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะทรงสร้างเมืองเชียงราย โดยเล่าว่าพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1483 สันนิษฐานว่า เมื่อพ่อขุนเม็งรายทรงพบชัยภูมิที่สร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทองนั้น คงจะมีการบูรณะองค์พระธาตุใหม่พร้อมๆ กับการสร้างเมืองเชียงราย นอกจากนั้นตรงข้ามพระธาตุดอยทอง เป็นที่ตั้งของเสาสะดือเมือง 108 หลัก ซึ่งสร้างตามคติโบราณล้านนา คือจะใหญ่เท่าห้ากำมือ และสูงเท่าความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน เสาสะดือเมืองเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายวง แทนสมมติจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง ล้อมรอบด้วยน้ำห้าร่องแทนปัญจมหานที ขั้นบนสุดเปรียบได้กับนิพพาน เสาสะดือเมืองชาวเชียงรายได้ร่วมใจสร้างขึ้นเมื่องปี พ.ศ.1531 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญาเม็งราย และได้มีการบูรณะในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



วัดร่องขุ่น



               วัดร่องขุ่น อยู่ที่บ้านร่องขุ่นกม.ที่ 817-818 ทางขวามือ ก่อนจะถึงตัวเมือง ๑๒ กม. โดยมีอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชั้นแนวหน้าของประเทศไทย เป็นผู้ออกแบบทั้งหมด โดยได้ทรัพย์สินส่วนตัว ของตัวอาจารย์เฉลิมชัยเอง บวกกับพื้นที่บริจาคประมาณ 7 ไร่เศษ ของคุณวันชัย วิชญชาคร และเงินบริจาค ของผู้ที่มีจิตศรัทธาลักษณะเด่นของวัดคือพระอุโบสถที่ประดับตกแต่งด้วยสีขาวเป็นพื้น ประดับด้วยกระจกบนปูนปั้นเป็นลายไทยโดยเฉพาะเหนืออุโบสถที่ประดับด้วยสัตว์ในเทพนิยาย เป็นรูปกึ่งช้างกึ่งวิหคเชิดงวงชูงา ดูงดงามแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถก็เป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง



ศูนย์ภาษาวัฒนธรรมจีนสิรินธร


               ภายในมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นเป็นเครื่องหมายแห่งมิตรภาพระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ศูนย์ฯ เป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยและในภูมิภาครวมทั้งเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรม ระหว่างประเทศ จีน ไทย ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบจีนแท้มีสวนน้ำ ตรงกลางแบบซูโจว ออกแบบโดยสถาปนิกชาวจีนจากมณฑลเสฉวนวัสดุกระเบื้องหลังคา รูปปั้นประดับหลังคา สิงโตแกะสลักด้วยหินอ่อนเฝ้าหน้าศูนย์ นำมาจากประเทศจีนทั้งสิ้น ภายใจอาคารจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยือนประเทศจีนและมีห้องสมุดให้ค้นคว้า อัตราค่าเข้าชม 10 บาท โทร. 0 5391 7093,0 5391 7095 www.mfu.ac.th



น้ำตกขุนกรณ์

              ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 34 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีธารน้ำที่ใสสะอาดไหลตลอดปีโดยที่ปราศจากตะกอนหินปูน มีความสูงกว่า 70 เมตร เส้นทางเดินขึ้นสู่น้ำตกขุนกรณ์มีโขดหินและแก่งต่างๆ ซึ่งมีความสวยงามรายรอบไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด สภาพป่าโดยรอบมีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะสำหรับการพักหย่อนใจ



ล่องเรือแม่น้ำกก

                       ล่องแก่งแม่กก ท่าตอน-เชียงราย ท่าตอนเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำกก เหนือขึ้นไปจากอำเภอฝาง 24 กิโลเมตร จากเชียงใหม่มีรถประจำทางออกจากประตูช้างเผือกไปลงที่ฝางใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แล้วจะมีรถสองแถววิ่งประจำระหว่างฝางกับท่าตอน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที มีเรือหางยาวบริการถึงเชียงราย ออกจากท่าตอนเวลา 12.30 น. ถึงเชียงราย  16.30 น. และจากเชียงรายเวลา 10.30 น. ถึงท่าตอน 15.30 น. ระยะทาง 80 กิโลเมตร ค่าโดยสารคนละ 200 บาท ถ้าหากต้องการเช่าเรือเหมาลำ ลำละ 1,600 บาท สามารถนั่งได้ 8 คน สำหรับผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานชมรมเรือบ้านท่าตอน โทร. 0 5345 9427



พิพิธภัณฑ์อูบคำ



                    พิพิธภัณฑ์อูบคำ ตั้งอยู่เลขที่ 81/1 ถนนหน้าค่าย ตำบลรอบเวียง ติดกับตลาดสดเด่นห้า เป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาโบราณ ประกอบด้วยเครื่องใช้ในราชสำนักล้านนา เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าแพร่ เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าเชียงใหม่ ผ้าโบราณอายุ 120 ปี เป็นซิ่นไหมคำจากราชสำนักมัณฑเลย์ และที่สำคัญไม่ควรพลาดชมคือ บัลลังก์กษัตริย์เป็นทองอร่าม อายุกว่า 200 ปี แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีต โดยมีอาจารย์จุลศักดิ์ สุริยไชย เป็นผู้รวบรวม ผู้สนใจสามารถเข้าชมได้ ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. ค่าเช้าชมผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท พิพิธภัณฑ์นี้เป็นความตั้งใจของผู้รวบรวมที่จะเก็บของมีค่าสมัยล้านนาที่ไม่ได้อยู่ในแผ่นดินไทยให้กลับมาอยู่ในผืนแผ่นดินไทย และเก็บไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาถึงความเป็นมาและความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านนาในอดีต ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม 
โทร. 0 5371 3349



ไร่แม่ฟ้าหลวง

                      อยู่ห่างจากพิพิฐภัณฑ์อูบคำไปอีก 1 กิโลเมตร มีอาคารสถาปัตยกรรมที่สำคัญคือ หอคำสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง ภายในจัดแสดงสัตตภัณฑ์หรือเชิงเทียนบูชาไม้แกะสลักโบราณและเป็นที่ประดิษฐานพระพราโต้พระไม้โบราณของล้านนา และมีหอคำน้อยเป็นที่เก็บรักษาจิตรกรรมฝาผนังที่ผาติกรรมมาจากวัดป่าเวียงต้า จังหวัดแพร่ บริเวณไร่ปลูกพรรณไม้หองและไม้หายากไว้มากมาย มีประติมากรรมเหมือนสมเด็จสำหรับจุดแสดงศิลปกรรมชั่วคราวและใช้จัดงาน อื่น ๆบริเวณไร่แต่เดิมใช้จัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงเพื่อถวายสักการะแก่พระศรีนครินทราบรมราชชะนีเปิดให้เข้าชมวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 10.00-18.00 น.ค่าเข้าชม คนไทย 150 บาท ต่างชาติ 200 บาท โทร.0 5371 1968,0 5371 6605 โทรสาร 0 5371 9167



น้ำพุร้อนโป่งพระบาท


                         เป็นน้ำพุร้อนตามธรรมชาติที่มีมานานแล้ว และได้มีการสำรวจอย่างจริงจังโดยขอให้สำนักงานทรัพยากรธรณีวิทยาเขต 3 ( เชียงใหม่ ) กรมทรัพยากรธรณี เข้าร่วมสำรวจคุณภาพของน้ำร้อน ต้นกำเนิดของน้ำพุร้อนเดิมบริเวณที่มีอยู่เป็นป่าไม้ไมยราพและแอ่งน้ำ และจุดที่พบน้ำร้อนเป็นลักษณะแอ่งน้ำร้อน (warm pool ) ที่มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 แอ่ง จากการสำรวจพบว่าอุณหภูมิร้อนผิวดินอยู่ระหว่าง 48-50 องศา และอุณหภูมิใต้ดินสูงประมาณ 125-156 องศา จากอุณหภูมิดังกล่าวสามารถที่จะพัฒนาทำเป็นแหล่งอาบน้ำอุ่นตามธรรมชาติเพื่อสุขภาพ ( Spa treatment ) หรือทำเป็นห้องอาบน้ำแร่ ( Balneology ) ซึ่งในประเทศจีน ญี่ปุ่น ยุโรปหรือในอเมริกา เชื่อกันว่าได้อาบน้ำหรือแช่ตัวในน้ำร้อน 


ที่มา : http://www.tourismchiangrai.com    วันที่ 8 มกราคม 2556


2 ความคิดเห็น: