ประวัติความเป็นมา
อำเภอแม่ฟ้าหลวง
ได้ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2535 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 13
มีนาคม 2535 โดยแยกการปกครองจากอำเภอแม่จันและได้รับพระราชทานชื่อ
"กิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง"
จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีและได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอแม่ฟ้าหลวงเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2539
ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 75 กม.
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.5 ชั่วโมง
เป็นชุมชนชาวจีนอพยพจากกองพล 93 และมีอนุสรณ์สถานชาวไทยเชื้อสายจีนอดีตทหารจีนคณะชาติ
จัดแสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมาต่าง ๆ เปิดทุกวันเวลา 08.00-17.00 น. ค่าเข้าชมคนไทย 30 บาท ต่างชาติ 50 บาท และในราวต้นเดือนมกราคม ดอกซากุระจะบานสะพรั่ง
ชิมชารสดีและอาหารจีนยูนนาน จากเชียงรายใช้เส้นทางเชียงราย-แม่จัน 29 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 1089 ไป 31 กม. เลี้ยวขวาที่สามแยกกิ่วสะไต ไปอีก 13
กม. เส้นทางลงใช้ทางหลวง 1234-1130 จะผ่านสามแยกอีก้อ
บ้านเย้าผาเดื่อ มีรถสองแถวที่ปากทางขึ้นดอยแม่สลอง เหมาไป-กลับ 800 บาท รถคิวคนละ 50 บาท เวลา 07.00-16.00 น. โทร. 0-1024-0813, 0-6182-2780
เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ลีซอและอาข่า
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,850 เมตร
จากเส้นทางขึ้นดอยแม่สลองสายเก่า 1130 แล้วเลี้ยวขวาที่สามแยกอีก้อ
ผ่านบ้านเทิดไทย ไปจนถึงบ้านแม่คำ ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 100 กม. ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 2 ชม.
เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราวกลางเดือนพฤศจิกายน
ถึงต้นเดือนธันวาคม
ดอกบัวตองจะบานสะพรั่งไปทั้งหุบเขาแซมอยู่ตามหมู่บ้านชาวเขาดูสวยงามมาก
มีบริการรับจองบ้านพักแก่นักท่องเที่ยว ติดต่อเกษตรที่สูงหัวแม่คำ โทร. 0-7192-0551
หลังละ 300 บาท/5 คน มี 3
หลัง
พระตำหนักดอยตุง
เคยเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี
มีรูปทรงผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนากับชาเลย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์
มีการแกะสลักไม้ตามกาแล เชิงชายและขอบหน้าต่างเป็นลวดลายต่างๆ
โดยฝีมือช่างชาวเหนือ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00-18.00 น.
ค่าเข้าชมพระตำหนัก คนละ 70 บาท
พระตำหนักดอยตุงจะปิดในช่วงฤดูฝน คือเดือนกรกฎาคม - กันยายน
ของทุกปี
การเข้าชมจะมีเจ้าหน้าที่นำชมอธิบายความเป็นมาของพระตำหนักเป็นรอบทุกครึ่งชั่วโมง
ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 5376 7015-7
ป่าบนดอยช้างมูบเป็นป่าเสื่อมโทรมจากการทำไร่เลื่อนลอยและการปลูกฝิ่น
ไม้ใหญ่ถูกตัดโค่นจนเป็นเขาหัวโล้น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระศรีนครินทราฯ
เสด็จมาพบแต่หญ้าปกคลุม
จึงมีพระประสงค์ที่จะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ดังเดิม ในปี พ.ศ. 2535
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้สนองพระราชดำริสร้างสวนรุกขชาติพื้นที่ 250
ไร่บนดอยช้างมูบ เพื่อรวบรวมพันธุ์ไม้ที่เคยพบบนดอยช้างมูบ
และเทือกดอยตุงขึ้นเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้พื้นถิ่นเอาไว้
พร้อมกับปลูกสนสามใบเป็นไม้เบิกนำ สร้างร่มเงา ภายในจัดเป็นเส้นทางลัด
เลาะไปใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่ที่เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมือง และพันธุ์ไม้ป่าหายากจำนวนมาก
ทั้งกล้วยไม้ดิน พญาเสือโคร่ง สนภูเขา และที่น่าสนใจที่สุดก็คือกุหลาบพันปี
ที่เป็นไม้เด่น และเน้นปลูกในสวนรุกขชาติแห่งนี้มากที่สุด
กุหลาบพันปีจะออกดอกในช่วงเดือน
ก.พ.-มี.ค.นอกจากนี้เส้นทางในสวนรุกขชาติยังเดินตามไหล่เขาไปจนถึงระเบียงชมวิว
มองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกลไปจนถึงชายแดนพม่าและลาว ไม่ไกลออกไปมีลำธารเล็ก ๆ
มีน้ำไหลเย็นตลอดปีบนเนินด้านหน้าทางเข้าสวนรุกขชาติมีสถูปขนาดเล็กสูงประมาณ 3
ม. สร้างไว้บนก้อนหินใหญ่ที่มีลักษณะเหมือนช้างหมอบ จึงเรียกว่า
สถูปช้างมูบ เป็นสถูปโบราณไม่ทราบประวัติที่แน่นอน แต่น่าจะมีอายุกว่า 100 ปี
พระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณ กม. ที่ 17.5 ของทางหลวงหมายเลข
1149 เป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า)
ของพระพุทธเจ้า นำมาจากมัธยมประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์
ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทย เมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้
ได้ทำธงตะขาบ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ตุง) ใหญ่ยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย
ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็จะกำหนดเป็นฐานพระสถูป
เหตุนี้ดอยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปฐมเจดีย์แห่ง ล้านนาไทย
จึงปรากฏ นามว่า ดอยตุง พระธาตุดอยตุงเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ
เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงจะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเพื่อนบ้านจากประเทศใกล้เคียง
เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน ประเทศสหภาพพม่า ชาวหลวงพระบาง เวียงจันทน์
เดินทางเข้ามานมัสการทุกปี
ที่มา : http://www.tourismchiangrai.com วันที่ 8 มกราคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น