ประวัติความเป็นมา
อำเภอแม่จันเดิมเป็นหมู่บ้านหรือตำบลหนึ่งในเขตควบคุมของเมืองเชียงแสนหลวง
ตามพงศาวดารโยนก
กล่าวว่าเมืองเชียงแสนมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณที่ราบลุ่มเชียงแสนทั้งหมดซึ่งอาณาเขตที่กว้างขวาง
ต่อมาเมืองเชียงแสนหลวงได้เกิดน้ำท่วมบ่อยๆ ปีหนึ่ง น้ำจะท่วมเป็นเวลาหลายเดือน ชาวบ้านแถบนี้ที่มีอาชีพเพาะปลูกและทำนาไม่สามารถที่จะทำนาได้
จึงพากันอพยพมาทางใต้ ประมาณ 25 กม. มาอยู่ที่ "
บ้านขิ" (ซึ่งปัจจุบันคือบ้านแม่คี หมู่ที่ 7 และหมู่ที่
9 ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน)
ซึ่งมีบริเวณเป็นที่ราบกลุ่มกว้างมีแม่น้ำไหลผ่าน ทำเลดี เหมาะแก่การเพาะปลูก
และทำนา และยังมีชาวบ้านมาตั้งบ้านเรือนก่อนแล้วเกือบ 400 หลังคาเรือน
ประกอบกับเป็นเส้นทางค้าขายยังรัฐฉาน และยูนาน และต่อมาชาวบ้านเมืองเชียงแสนหลวง
ก็อพยพตามมาอยู่รวมกันที่บ้านขิมากเพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ.2424 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงโปรดเกล้าให้เจ้าอินต๊ะ ซึ่งครองเมืองลำพูน ลำปาง และเจ้ากาวิละ
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ประมาณ 1,500 ครัวเรือน
ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองเชียงแสนหลวง และพระราชทานบรรดาศักดิ์
เจ้าอินต๊ะเป็นพระยาเดชดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงแสนหลวง
เป็นแหล่งน้ำพุร้อนที่ใหญ่ที่สุดใน จ.เชียงราย อยู่ที่อำเภอแม่จัน
ในเขตตำบลป่าตึง บนเนื้อที่เกือบ 10 ไร่
พบว่ามีบ่อน้ำพุร้อนขึ้นหลายจุด บางจุดพุ่งขึ้นสูงถึง 7
เมตรน้ำพุร้อนนี้เป็นน้ำร้อนที่ไหลขึ้นมาสม่ำเสมอ
เกิดจากน้ำฝนที่ไหลซึมลงไปผสมกับน้ำข้างล่างในแหล่งเก็บกักเดิม
โดยซึมไปตามรอยเลื่อนแล้วสัมผัสกับหินที่ยังร้อนอยู่ภายใต้ผิวโลก
จึงได้รับความร้อนจนละลาย แร่ธาตุต่างๆ จากหินปะปนกับน้ำ
เมื่อได้รับความร้อนเพิ่มสูงขึ้น ความดันจะเพิ่มขึ้นมาตามรอยแยกเลื่อน
ปรากฏเป็นน้ำพุร้อนน้ำพุร้อน ที่อำเภอแม่จัน มีอุณหภูมิแหล่งกักเก็บในระดับ 175-200 องศาเซลเซียส น้ำที่พุ่งขึ้นมาจึงมีอุณหภูมิสูงและปานกลางต่างกันไป
บางแห่งมีกลิ่นกำมะถันปนออกมาด้วยน้ำพุร้อน อำเภอแม่จัน
ได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงรายแห่งหนึ่ง
ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 12 ของทางหลวงหมายเลข 1089 (แม่จัน - ท่าตอน)
ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 36 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว่า 400 ไร่ จัดเป็นหมู่บ้านทางวัฒนธรรม
เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง
ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นหุบเขา และลำห้วยขุนน้ำแม่จัน
มีอุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ ห้อมล้อมด้วยไร่ชา และสวนดอกท้อ
มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ขี่ช้าง นั่งเกวียน มีการแสดงของช้าง การสาธิตต่าง ๆ
เช่น การทำเครื่องเงิน เครื่องจักสาน การทำกระดาษสา การปั่นฝ้ายทอผ้า งานเย็บปัก
ถักร้อยของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ และสาธิตวิธีชงชาตามแบบฉบับของยูนนาน
การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากประเทศไทย ลาว จีน (ตอนใต้) พม่า เวียดนาม และกัมพูชา
การแสดงจะมีระหว่างเวลา 11.00 - 12.00 น. และ 14.00 -
15.00 น. เก็บค่าผ่านประตูรวมค่าเข้าชมการแสดง คนไทย คนละ 100 บาท ชาวต่างชาติคนละ 200 บาท
และยังมีฆ้องชัยใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 5
เมตร ให้ชมอีกด้วย เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 5377 2472, 0 5377 2475 กรุงเทพฯ โทร. 0 2272 2521-7
ตั้งอยู่ที่ 191 หมู่ 1 ถ.แม่จัน-เชียงแสน ต.จอมสวรรค์
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงพระพุทธรูปโบราณ และพระเครื่องเก่าแก่หลายสมัย อาทิ
ในยุคคันธราราษฎร์, ทวาราวดี, เชียงแสน
สุโขทัย, อู่ทอง, ลพบุรี, อยุธยา, รัตนโกสินทร์ จำนวนมากกว่า 500 องค์ รวมทั้งมีพระเครื่องชุดเบญจภาคี เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-17.00 น. โทร. 0 53-653-038-9 ,01-603-8474 โทรสาร. 053-653-040
อยู่ที่บ้านไร่ ต.ท่าข้าวเปลือก
จากตัวเมืองเชียงรายไปตามถนน เชียงราย- แม่จัน 11 กม.
เลี้ยวขวาเข้าทางหลวง 1209 ไปอีก 29
กม. เป็นที่ประดิษฐานพระสังขจายที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีหน้าตักกว้างถึง 15 x
19 เมตร สร้างที่เมืองนานกิง สาธารณรัฐประชาชนจีน
เป็นโลหะทองเหลืองแยกส่วนนำมาประกอบ โทร. 0-5376-7040
ที่มา : http://www.tourismchiangrai.com วันที่ 8 มกราคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น