ประวัติความเป็นมา
ประวัติศาสตร์ อำเภอเชียงแสน
ตามสภาพของเมืองเก่า
ประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงแสนปรากฏอยู่ในเอกสารตำนานหลายฉบับ
ซึ่งเรื่องราวส่วนใหญ่จะมีความคล้ายกัน
โดยปรากฏเรื่องราวของชุมชนโบราณในเขตที่ราบลุ่มจังหวัดเชียงราย
ในระยะก่อนสร้างเมืองเชียงแสน ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มต้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 จากการที่พระเจ้าสิงหน วัติกุมารได้อพยพลง มาจากนครไทยเทศ
ซึ่งอยู่ในทางตอนเหนือล่องมาตามแม่น้ำโขงและมาตั้งบ้านเมืองขึ้น ชื่อว่า
นาคพันธ์สิงหนวัตินคร
ในแผ่นดินของพระเจ้าสิงหนวัติกุมารนั้นได้มีการรวบรวมดินแดนให้เป็นปึกแผ่นได้รวมเอาชาวมิลักขุและปราบปรามพวกกลอมหรือขอมให้อยู่ใต้อำนาจ
หลังจากนั้นก็ได้มีกษัตริย์ หลายพระองค์ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์
สืบมาจนกระทั้งถึงรัชการพระเจ้ามหาชัยชนะก็เกิดอาเพศ
จนบ้านเมืองล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำต่อมาได้ปรากฏเรื่องรวมอีกช่วงหนึ่ง
เป็นส่วนที่กล่าวถึงปู่เจ้าลาวจกหรือลวจังกราชว่าได้ลงมาจากยอดภูเขา
และได้สถาปนาเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์ลวจังกราช
ขึ้นปกครองแว่นแคว้นไชยวรนครเชียงราวหรือแคว้นโยนกซึ่งก็คือบ้านเมืองในบริเวณที่ราบลุ่มจังหวัดเชียงรายทุกวันนี้
ต่อมาได้สร้างเมืองหิรัญนครเงินยางและมีการขยายชุมชนออกไปโดยรอบ
ได้มีการสร้างเมืองเชียงราย เมืองเชียงของและขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง
กษัตริย์ในราชวงค์ลวจังกราชได้สืบราชสมบัติติดต่อกันมาหลายพระองค์
จนกระทั้งถึงรัชกาลของพระเจ้ามังรายจึงได้รวบรวมบ้านเมืองในแคว้นโยนกจนเกิดเป็นปึกแผ่นทรงสร้างเมืองเชียงรายและเสด็จ
ไปประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย ต่อมาทรงยกทัพไปตีแค้วนหริภุญไชยได้
และสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานีใน
พ.ศ. 1839 สำหรับเรื่องราวของเมืองเชียงแสนนั้น
มีหลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสารอย่างชัดเจนว่า พระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพระเจ้ามังราย
ทรงสร้างเมืองขึ้นบริเวณซากเมืองรอยเก่าริมฝั่งแม่น้ำโขงเมื่อ พ.ศ. 1871 และขนานามว่าเมืองหิรัญนครชัยบุรีศรีช้างแสน
ซึ่งก็เชื่อกันว่าเมืองรอยเก่านั้นก็คือเมืองหิรัญนครเงินยางนั้นเอง
หลังจากที่พระเจ้าแสนภูได้ขึ้นมาครองราชย์ในเมืองเชียงใหม่แล้วต่อมาทรงย้ายมาอยู่ที่เมืองเชียงแสนตลอดพระชนม์ชีพ
และกษัตริย์ล้านนาองค์ต่อมาคือพระเจ้าคำฟู ก็ประทับที่เมืองเชียงแสน
สาเหตุที่พระเจ้าแสนภูสร้างเมืองและประทับอยู่เมืองเชียงแสนนั้นเพราะเป็นเหตุผลด้าน
ยุทธศาสตร์ในการป้องกันข้าศึกที่มาทางด้านเหนือและเพื่อควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ
ของล้านนาตอนบนไว้ให้อยู่ภายใต้พระราชอำนาจ
ด้วยเหตุนี้ในสมัยล้านนาตอนต้นศูนย์กลางของอาณาจักรและพระศาสนา
จึงอยู่ที่เมืองเชียงแสน ดังนั้นจึงปรากฏมีร่องรอยโบราณสถานในสมัยล้านนา
ตอนต้นอยู่ในเขตเมืองเชียงแสนค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 19
ในสมัยของพระเจ้าผายูกษัตริย์ราชวงค์มังรายลำดับที่ 7 ได้กลับไปประทับที่เมืองเชียงใหม่ แต่เมืองเชียงแสนก็ยังมีความสำคัญ
ในเขตล้านนาตอนเหนือตลอดมา ในช่วงเวลาที่ล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า
ในพ.ศ.2244 พม่าได้แบ่งแยกการปกครองล้านนาออกเป็น 2 ส่วน เพื่อป้องกันกบฏส่วนแรกได้แยกเมืองเชียงแสนออกจากอำนาจของเมืองเชียงใหม่ให้เมืองเชียงแสนได้ขึ้นตรงต่อกรุงอังวะ
ถือเป็นประเทศราชมณพลหนึ่งและอยู่ภายใต้อำนาจของข้าราชการพม่าโดยตรง
โดยให้เมืองต่าง ๆ เหล่านี้ คือ เมืองกาย เมืองไร เมืองเลน เมืองแหลว เมืองพยาก
เมืองเชียงราย และเมืองหลวงภูคา เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองนครลำปาง เมืองฝาง
เมืองสาด เมืองเชียงของ และเมืองเทิง ขึ้นอยู่กับเมืองเชียงแสน
ส่วนเมือที่เหลือขึ้นอยู่กับเมืองเชียงแม่ในช่วงเวลานี้ฐานนะของเมืองเชียงแสน
ได้มีความสำคัญขึ้นอีกครั้งและได้เป็นฐานที่มั่นสำคัญของพม่าในการควบคุมบ้านเมืองและดินแดนล้านนา
พม่าควบคุมเมืองเชียงแสนไว้จน พ.ศ.2347 พระยากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่กับกรมหลวงเทพหริรักษ์กับพระยายมราชได้ยกทับเข้าตีเมืองเชียงแสนได้สำเร็จ
และได้กวาดต้อนผู้คนจำนวน22,000 ครอบครัวจัดแบ่งออกเป็น 2
กลุ่ม กลุ่มแรกให้ย้ายถิ่นฐานในเมืองต่าง ๆ ของล้านนา เช่นเชียงใหม่
นครลำปาง นาน และเวียงจันทร์ อีกกลุ่มหนึ่งส่งไปยังเมือง
กรุงเทพซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดเกล้าฯให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่
ตำบลเสาให้ จ.สระบุรี และที่ ต.คูบัว จ.ราชบุรี ต่อนั้นเมืองเชียงแสนจึงกลายเป็นเมืองร้าง
จนกระทั้งรัชการ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้เจ้าอินทวิไชย บุตรเจ้า
บุญมา เจ้าผู้ปกครองเมืองลำพูน นำราษฎรชาวงเมืองลำพูน
และราษฎรชาวเมืองเชียงใหม่จำนวน ประมาณ 1,500 ครอบครัว
ขึ้นไปตั้งถิ่นฐาน และฟื้นฟูเมืองเชียงแสนและได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชเดช
ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงแสน
เมืองเชียงแสนจึงได้ฟื้นฟูนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาประมาณ พ..ศ. 2442 ได้มีการย้ายศูนย์การปกครอง ไปอยู่ที่ ต.กาสา ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน
ตั้งเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดเชียงราย ส่วนเมืองเชียงแสนยุบลงเป็นกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง
และต่อมาได้เป็นอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อพ.ศ. 2500 มาจนทุกวันนี้
อำเภอเชียงแสน เป็นอำเภอเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง
ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 59 กิโลเมตร
โดยแยกจากทางหลวงหมายเลข 110 ที่อำเภอแม่จัน
ไปตามทางหลวงหมายเลข 1016 ประมาณ 31
กิโลเมตร เชียงแสนเป็นเมืองเก่าแก่มากแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เดิมชื่อ “เวียงหิรัญนครเงินยวง” แม้ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมืองโบราณ
2 ชั้น และโบราณสถานหลายแห่งปรากฏอยู่ทั้งในและนอกตัวเมือง
สามเหลี่ยมทองคำ
อยู่ห่างจากอำเภอแม่สาย ๒๘ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๑๒๙๐
เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกมาบรรจบกัน หรือที่เรียกว่า สบรวก
เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทย ลาว พม่า บริเวณนี้เคยมีการค้าฝิ่น
โดยแลกเปลี่ยนกับทองคำ ทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงบริเวณนี้มีความงดงามโดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอกด้านฝั่งพม่า
และลาว นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์จุดบรรจบของพรมแดนไทย ลาว
และพม่า ค่าเช่าเรือประมาณ ๓๐๐–๔๐๐ บาท นั่งได้ ๖ คน
ถ้าต้องการนั่งชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำโขงไปไกลถึงเชียงแสนและเชียงของ ก็สามารถหาเช่าเรือได้
แต่ค่าเรือขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกล
นักท่องเที่ยวที่สนใจล่องแม่น้ำโขงไปเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่น สิบสองปันนา
คุนหมิง สามารถติดต่อกับบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดเชียงรายได้
หากต้องการจะชมทิวทัศน์มุมกว้างของสามเหลี่ยมทองคำบริเวณสบรวกและเพื่อนบ้าน
ต้องขึ้นไปบนดอยเชียงเมี่ยง ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงแสน
เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ได้จากบริเวณเมืองโบราณเชียงแสน แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง แสดงเรื่องประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน
และวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปูนปั้นจากวัดป่าสัก พระพุทธรูปศิลปะล้านนา
จารึก เครื่องถ้วยล้านนา ส่วนที่ 2 เกี่ยวกับโบราณสถาน
และโบราณวัตถุสำคัญที่พบใน เมืองโบราณเชียงแสน และที่อื่น ส่วนที่ 3 จัดแสดงเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชนแถบลุ่มแม่น้ำโขง
ทั้งชาวไทใหญ่ ไทลื้อ และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน
เปิดตั้งแต่เวลา 09.00 -16.00 น.
ทุกวันพุธ-อาทิตย์เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมคนไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท โทร. 0 5377 7102 และเยื้องพิพิธภัณฑ์จะมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ให้บริการข้อมูลเมืองโบราณเชียงแสน
วัดพระธาตุเจดีย์หลวง
ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
สร้างโดยพระเจ้าแสนภูเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 19
โบราณสถานประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงระฆังแบบล้านนา เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน
นอกจากนี้ยังมีพระวิหารที่เก่ามากซึ่งพังทลายเกือบหมดแล้ว และเจดีย์รายแบบต่าง ๆ 4 องค์
วัดพระเจ้าล้านทอง
วัดนี้ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง เจ้าทองงั่ว
ราชโอรสพระเจ้าติโลกราชเป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2032
ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งหนักล้านทอง (1,200 กิโลกรัม)
ขนานนามว่า พระเจ้าล้านทอง เป็นพระประธาน
ในวัดนี้ยังมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งได้มาจากวัดทองทิพย์ซึ่งเป็นวัดร้าง
เรียกกันว่า พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง พระพักตร์งดงามมาก
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนประมาณ
๑ กม. ในเขต ต.เวียง พระเจ้าแสนภูทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 1838 และให้ปลูกต้นสักล้อมกำแพง 300 ต้น
วัดนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดป่าสัก" ภายในวัดมี โบราณสถานที่สำคัญคือ
เจดีย์ประธานทรงมณฑปยอดระฆัง ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอันวิจิตร มีฐานกว้าง 8 ม. สูง 12.5 ม.
เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกตาตุ่มข้างขวาจากเมืองปาฏลีบุตร
อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนไปตามเส้นทางเชียงแสน-เชียงของ ประมาณ 4 กม. อยู่ตรงข้ามโรงเรียนสบคำ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมมีเนื้อที่ 143 ไร่ มีเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่
วิหารปัจจุบันสร้างทับซากวิหารเดิม บนยอดเขาข้างหลังวัด เป็นที่ตั้งของพระบรมพุทธนิมิตรเจดีย์ที่มองเห็นทิวทัศน์สวยงามได้โดยรอบ
วัดพระธาตุจอมกิตติ
วัดพระธาตุจอมกิตติ ตั้งอยู่บนยอดดอยน้อย
อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1.5 กิโลเมตร พระธาตุเจดีย์ หรือบรมธาตุเจดีย์
มีลักษณะฐานล่างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ถัดขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ย่อมุมเป็นเรือนธาตุ
(ย่อมุมรองรับ) ซึ่งมีซุ้มทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปูนปั้นทั้ง 4 ด้าน ส่วนยอดเป็นองค์ระฆังกลม
ตำนานการสร้างพระธาตุจอมกิตติค่อนข้างจะสับสนพอ ๆ กับตำนานเมืองเชียงแสน
ตั้งอยู่บนเนินเขานอกตัวเมือง
ตามพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าพังคราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1483 พร้อมกับพระธาตุดอยทอง
พระเจดีย์องค์ปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 ศิลาจารึกวัดพระธาตุจอมกิตติได้กล่าวไว้ว่า
เมื่อตอนที่พระพุทธองค์ได้เสด็จมา ณ ที่นี้
พระองค์ได้ทรงดึงพระเกศาและประดิษฐานไว้ที่พระธาตุจอมกิตติ แล้วพระองค์จึงทรงพยากร์ว่า
แว้นแคว้นแห่งนี้จะคงสืบพระพุทธศาสนาดำรงได้ครบ 5000
ปีบางตำนานบอกว่า
เมืองเชียงแสนนั้นเกิดมาตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์ยังดำรงพระชนม์ชีพ
และเคยเสด็จมายังเชียงแสน ประทานเส้นพระเกศาให้ไว้
จึงสร้างพระธาตุขึ้นมาเพื่อประดิษฐานตำนานต่อมาที่ค่อนข้างจะแน่นอนกว่าคือการสร้างพระธาตุจอมกิตติโดยพระเจ้าพังคราช
เมื่อปี พ.ศ. 1481 เมื่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้พระบรมธาตุมา
โดยมีพระพุทธโฆษาจารย์ ชาวมอญ
ซึ่งหลังจากเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาจากประเทศลังกาแล้ว
จึงกลับมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในมอญ พม่า ตามลำดับจนเข้ามาในโยนกนคร (เชียงแสน)
ตรงกับสมัยของพระเจ้าพังคราช
ซึ่งยุคนี้พระเจ้าพรหมได้ทรงขับไล่ขอมไปสิ้นจากโยนกหมดแล้ว
และพระเจ้าพรหมได้อัญเชิญพระเจ้าพังคราช ราชบิดากลับมาขึ้นครองเมืองเชียงแสน
ส่วนพระเจ้าพรหมมหาราช ซึ่งเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง
ไปสร้างเมืองใหม่คือเมือง "ชัยปราการ" ที่ริมแม่น้ำกก
เพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน ป้องกันการรุกรานของข้าศึก
ซึ่งชัยปราการนี้จะเป็นเมืองหน้าด่านให้เชียงแสน จะสกัดการรุกรานของ
มีประวัติว่า
สร้างโดยพรเจ้าลวจักราช เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 12
แต่หลักฐานที่พบแสดงว่ามีอายุอยู่ในช่วงไม่เกินพุทธศตวรรษที่ 21 กรมศิลปากรได้ขุดพบหลักฐานที่พบแสดงว่ามีอายุอยู่ในช่วงไม่เกิน
พุทธศตวรรษที่ 21
กรมศิลปากรได้ขุดพบภาพขูดขีดบนแผ่นอิฐเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระชาติของพระพุทธเจ้า
ตอนพระเวสสันดรชาดก เช่น พระเวสสันดรเดินป่า ชูชกเฝ้าพระเวสสันดร เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนจิตรกรรมฝาผนังที่หลุดพังมาจากผนังวิหารมีสภาพแตกหัก
แต่ยังคงเหลือลักษณะของสีและตัวภาพซึ่งใช้สีชาดและสีแดงเพียง 2 สี นับได้ว่าเป็นการค้นพบที่สำคัญทางวิชาการอย่างยิ่ง
เป็นอ่างเก็บน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลโยนก ในเขตอำเภอเชียงแสน
ตามทางสายเชียงแสน-แม่จันไปประมาณ ๕ กม. แยกซ้ายตรงกม.ที่ ๒๗ เข้าไปอีก ๒ กม.
ในฤดูหนาวจะมี ฝูงนกน้ำอพยพมาอาศัย ริมทะเลสาบมีร้านอาหารและที่พัก
ทะเลสาบเชียงแสน
หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,711
ไร่ ประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ เมื่อปี พ.ศ.2528 เดิมเป็นเพียงหนองน้ำขนาดเล็ก จนมีการสร้างฝายกั้นทางน้ำ ทำให้น้ำเอ่อล้น
จนเกิดเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ ในฤดูหนาวจะมีอากาศเย็นสบายและหมอกลอยปกคลุมทั่วไป
ทะเลสาบเชียงแสนยัง เป็นแหล่งดูนกที่มีชื่อเสียง
เพราะเป็นถิ่นอาศัยของนกน้ำและนกทุ่งจำนวนมาก
โดยเฉพาะนกเป็ดน้ำที่ย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงฤดูหนาว หลายชนิดเป็นนกหายาก เช่น
เป็ดแมนดาริน เป็ดเทาก้นดำ เป็ดเบี้ยหน้าเขียว เป็ดหัวเขียว เป็นต้น
บริเวณทะเลสาบมีรีสอร์ทของเอกชนให้พักหลายแห่ง
(ดินแดนแห่งสามเหลี่ยมทองคำ)
ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนไปตามถนนเลียบแม่น้ำโขงระยะทาง ๙ กม.
ซึ่งเป็นบริเวณที่แผ่นดินของ ๓ ประเทศได้มาพบกัน คือ ไทย พม่า ลาว
โดยมีแม่น้ำรวกกั้นอาณาเขตระหว่างไทยและพม่า
และแม่น้ำโขงกั้นอาณาเขตระหว่างไทยและลาว ครั้งหนึ่งที่นี่เคยเป็นไร่ฝิ่นที่ใหญ่โตมาก
แต่ปัจจุบันไม่มีไร่ฝิ่นอีกแล้ว เหลือคง
แต่ทิวทัศน์ที่เงียบสงบของลำน้ำและเขตแดนของ 3
ประเทศเท่านั้น
ที่นี่ยังมีบริการเรือให้เช่าเพื่อเดินทางไปชมทิวทัศน์บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
ใช้เวลา 20 นาที
และยังสามารถเช่าเรือจากสบรวกไปยังเชียงแสนและเชียงของได้ ใช้เวลาประมาณ 40 นาทีและ 1 ชม.ครึ่งตามลำดับ
องค์นี้เป็นพระเชียงแสนสี่แผ่นดินเฉลิมพระเกียรติฯซึ่งได้สร้างขึ้นแทนองค์เดิมที่จมลงแม่น้ำโขง
หน้าที่ว่าการ อ.เชียงแสน สมัยรัชกาลที่ 3
และสร้างขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ ปิดทองด้วยบุศราคัม น้ำหนักถึง 69 ตัน หน้าตักกว้าง 9.99 ม.สูง15.99ม. ประทับนั่งบน " เรือแก้วกุศลธรรม " ขนาดใหญ่อย่างที่เห็นในรูปนั่นแหละครับ
พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างตุงหลวงเฉลิมพระเกียรติ
สูง17.99ม. ศูนย์ OTOP ล้านนา ซุ้มประตูโขงและพระมหาโพธิสัตว
์(เจ้าแม่กวนอิมหยกขาว สูง9.99ม.)ทั้งหมดนี้ได้ใช้งบประมาณถึง69ล้านบาท
หอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
ตั้งอยู่ในพื้นที่ประมาณ 250 ไร่
ห่างจากอำเภอเชียงแสนประมาณ 10 กิโลเมตร
ตัวอาคารล้อมรอบด้วยสวนอันสวยงาม เป็นศูนย์นิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาของฝิ่นเมื่อสมัยที่มีการใช้กันอย่างถูกกฏหมายและผลกระทบของการเสพติดฝิ่น
อีกทั้งยังทำหน้าที่ศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยและการศึกษาต่อเนื่องในหัวข้อฝิ่น
สารสกัดจากฝิ่นในรูปแบบต่างๆและยาเสพติดอื่นๆ
หอฝิ่นจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ ระหว่างเวลา 08.30-16.00 น. ค่าเข้าชมบุคคลทั่วไป ต่างชาติ 300 บาท คนไทย 200 บาท ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 50 บาท เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี 50
บาท (เฉพาะคนไทย)เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ฟรี
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ โทร. 0 5378 4444
เป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องมือและเครื่องใช้ในการสูบฝิ่นของผู้คนในอดีต
มีทั้งประวัติของสามเหลี่ยมทองคำ สถานที่ ปลูกฝิ่นการปลูกและสูบฝิ่น
ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้สูบฝิ่นแสดงให้ชม ส่วนชั้นล่างของบ้านฝิ่นเป็นสถานที่ขายของที่ระลึก
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น โทร. 053-784062,01-6035740
พระพุทธดอยปูเข้านี้
สร้างขึ้นบนดอยเชียงเมี่ยง ริมปากน้ำรวก เมื่อ พ.ศ 1302
ในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมือง กษัตริย์องค์ที่ 2
แห่งเวียงหิรัญนครเงินยาง โบราณสถานประกอบด้วยพระวิหาร
และกลุ่มเจดีย์ที่พังทลายก่อด้วยอิฐมีร่องรอยการตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น
นอกจากนั้นบนดอยเชียงเมี่ยงยังเป็นจุดชมวิว
สามารถมองเห็นสามเหลี่ยมทองคำได้ชัดเจนเข้าตามเส้นทางเชียงแสน-สบรวก
แยกซ้ายก่อนถึงสามเหลี่ยมทองคำเล็กน้อย รถยนต์สามารถขึ้นไปถึงยอดเขา
หรือจะเดินขึ้นบันไดก็ได้
ที่มา : http://www.tourismchiangrai.com วันที่ 8 มกราคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น